ในโลกของเรามีทั้งหมด 200 กว่าประเทศ แต่ละประเทศก็จะมีความแตกต่างในเรื่องของภูมิศาสตร์ เรื่องของภูมิประเทศและภูมิอากาศ ความแตกต่างของโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้น บางประเทศขอหลักฐานการฉีดวัคซีน เช่น ถ้าจะไปเที่ยวประเทศในกลุ่มแอฟริกา ต้องมีการฉีดวัคซีนไข้เหลือง ถ้าหากไม่ฉีดก็จะเข้าประเทศไม่ได้ หรือ บางคนจะไปเข้าร่วมพิธีฮัจญ์ ที่นครเมกกะก็ต้องฉีดวัคซีนไข้กาฬหลังแอ่นไป เพราะงั้นเราต้องรู้ประเทศก่อน เพราะบางประเทศมีกฎหมายบังคับบางประเทศไม่ได้บังคับว่าต้องฉีดวัคซีน บางวัคซีนมีข้อบ่งชี้ หรือข้อห้ามใช้ในคนไข้บางรายที่อายุเกิน ก็ห้ามฉีดวัคซีนตัวใดตัวนึงทำให้ไปเที่ยวประเทศนี้ไม่ได้ และถ้าหากใครที่มีโรคประจำตัว อย่างเช่นคนที่เป็นโรคลมชักหรือโรคเครียดและจำเป็นต้องไปเยือนแอฟริกา ก็จะต้องฉีดวัคซีนไข้มาลาเลีย หรือการที่ต้องกินยาบางอย่างก็มีข้อห้ามในการใช้ผู้ป่วยลมชัก หรือเช่นประวัติเรื่องการผ่าตัด เพราะบางครั้งใครที่มีประวัติการผ่าตัดที่เกี่ยวกับคอ มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งมีผลต่อการให้วัคซีนเช่นกัน
การไปเที่ยวในเมืองกับนอกเมืองนั่นแตกต่างกันมาก โดยธรรมชาติคนที่ไปเที่ยวในเมือง ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการนอนในโรงแรม ร้านอาหารก็จะเป็นแบบภัตคาร หรือค่อนข้างได้มาตรฐานมากกว่า แต่ถ้าหากไปเที่ยวนอกเมือง ก็มักจะเป็นโรงแรมที่ระดับมาตรฐานอาจจะแย่ลง ร้านอาหารอาจจะเป็นแบบชาวบ้านมากยิ่งขึ้น ก็จะมีในเรื่องของความสะอาด และความเสี่ยงในเรื่องของการติดเชื้อ ทำให้คนที่ไปเที่ยวนอกเมืองอาจจะมีความเสี่ยงในเรื่องของการติดเชื้อมากกว่า แต่ก็ไม่เสมอไป
คนที่ไปเที่ยว 1 วัน 5 วัน กับ 10 วัน 3 คนนี้ สมมุติว่าไปจุดหมายปลายทางเดียวกัน จะมีการเตรียมตัวในการเดินทางที่ แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น ไปประเทศเอธิโอเปีย บางท่านที่เป็นนักธุรกิจ ไปเพื่อเซ็นต์สัญญาไม่นาน ก็เดินทางกลับ ส่วนอีกคนไปเที่ยว5วัน อีกคนว่างงานไปเที่ยว10วัน ซึ่งถ้าคนไปแล้วจะติดเชื้อโรคแต่ละชนิดก็ต้องมีระยะการฟักตัวของโรค เพราะฉะนั้นคนที่ไปแค่1วัน อาจจะมีโอกาสที่จะติดเชื้อน้อยกว่า หรือบางที ไปวันแรกก็อาจจะติดเชื้อเลย แต่ก็จะกลับมาป่วยที่ประเทศตัวเอง เพราะฉะนั้นการคิดของหมอก็จะแตกต่างกัน หากเราไปเที่ยวนาน 10วัน 20วัน หรือ30วัน นั่นแปลว่าก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อมากยิ่งขึ้น เวลาเจ็บป่วยก็จะเจ็บป่วยที่ประเทศปลายทางด้วย เราอาจจะต้องคิดถึงในเรื่องการเตรียมโรงพยาบาลที่ประเทศจุดหมายปลายทางว่าได้มาตรฐานเพียงพอไหม ประกันที่เราใช้ สามารถเชื่อมต่อกับโรงพยาบาลนั้นได้หรือเปล่า
ช่วงเวลาในการเดินทางประจำปี อย่างเช่นที่เรารู้ว่าในปีนึงมันมีหลายฤดู ร้อน ฝน หนาว ใบไม้ผลิ อย่างประเทศไทย ชัดเจนว่า ถ้าเป็นฤดูฝน ยุงก็จะเยอะ ต่างชาติคนไหนที่มาเที่ยวเมืองไทยในฤดูฝน โอกาสจะเป็นไข้เลือดออกก็จะมากกว่าคนปกติ หรือคนที่มาตอนฤดูหนาว ก็เช่นเดียวกัน ถ้าเราไปเที่ยวประเทศใด ประเทศหนึ่งในช่วงฤดูฝน โอกาสที่เราจะไปเจอพวกแมลง อย่างเช่น จะไปแอฟฟริกาเราก็ไม่ควรไปในช่วงฤดูฝน เพราะหญ้าในแอฟริกาจะโตสูง และตามหญ้าก็จะมีสัตว์ตัวเล็กๆ หรือแมลงต่างๆ ซึ่งเราก็มีโอกาสโดนกัดได้ แต่ถ้าหากเราไปในช่วงฤดูแล้ง หญ้าก็จะค่อนข้างเตี้ยเพราะสัตว์ป่าก็จะมาเล็มกินหญ้า ทำให้โอกาสที่จะโดนแมลงที่อยู่ตามยอดหญ้ากัดก็จะลดลง หรือแม้กระทั่ง ไปจุดหมายปลายทางเดียวกันถ้าหนาวมากๆ ก็อาจจะไปเจอหิมะกัดมือ หรือหนาวเกินไป บางจุดหมายไม่ควรไปหน้าหนาว แต่บังเอิญวันหยุดตรงกับหน้าหนาวพอดีเราก็ต้องเตรียมตัวให้ดีก่อนไปเที่ยวประเทศนั้นๆ
แต่ละครั้งอาจจะตกต่างกันเราจะไปทำอะไร ไปในเชิงธุรกิจ หรือเที่ยวสนุกกับครอบครัว หรือการทำงานแบบอาสาสมัคร
ไปแบบ Business Traveler นั่งชั้น Business นอนโรงแรม 5 ดาว มีรถมารับตลอดทาง กลุ่มนี้ก็จะอาจจะไม่ได้ติดโรคจากการไปเดินตลาดหรือการไปกินอาหารที่ไม่สะอาด อาจจะเป็นการเสี่ยงในด้านอื่นแทน
แบบแบ็คแพค กินทุกอย่าง สตรีทฟู้ด กินทุกอย่างจากคนท้องถิ่น คนกลุ่มนี้ก็จะมีโอกาสเจออาหารที่ไม่สะอาดหรืออาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะในบางครั้ง แต่มันคือรสชาติของชีวิต ถ้าเกิดเขาเตรียมตัวก่อนที่จะมาเจอหมอ หมอก็จะมีวิธีป้องกัน ให้เขาได้กินได้
กลุ่มของคนที่เป็นอาสาสมัคร แพทย์หรือพยาบาลอาสาในถิ่นทุรกันดาร กลุ่มนี้ก็เหมือนกับการย้ายบ้าน ไปอยู่ในที่ที่สิ่งอำนวยความสะดวกอาจจะไม่เพียงพอ โอกาสที่จะติดโรคก็เท่ากับคนท้องถิ่น แต่ที่แตกต่างกันก็คือคนท้องถิ่นนั้นจะมีภูมิต้านทานแต่ละโรคแล้ว แต่เรายังไม่มีเพราะฉะนั้นร่างกายรายังถือว่าอ่อนแอยังไม่มีภูมต้านทาน ตัวอย่างเช่น ใกล้ตัวเราที่สุดอย่างโรคไข้เลือดออก คนไทยบางส่วนมีภูมิต้านทานแล้ว แต่ถ้าหากเป็นชชาวต่างชาติก็อาจจะมีความเสี่ยงมากกว่า
กลุ่มที่เป็นผู้แสวงบุญ เช่น กลุ่มของคนมุสสลิมที่ไปประกอบพิธีที่นครเมกกะ อันนี้จะค่อนข้างชัดเจน เพราะรัฐบาลไทยจะมีกฎที่ชัดเจนที่ว่า คนที่จะไปร่วมพิธีนั้นต้องมีการฉีดวัคซีนไข้กาฬหลังแอ่นก่อน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงลงได้บ้าง แต่ถ้าเราไปด้วยตัวเอง ไม่ได้ผ่านระบบของกระทรวง เราได้เตรียมตัวให้พร้อมหรือยังสำหรับเรื่องนี้
ลักษณะของการเดินทาง เช่น ถ้าเราไปเที่ยวด้วยตัวเอง หรือเราไปแบบทัวร์ อันนี้เราจะค่อนข้างบอกได้ชัดเจน
เพราะว่าทุกอย่างได้ถูกจัดไว้แล้ว อย่างเช่นจากจุดเอไปจุดบี จากสนามบินไปโรงแรม ก็มีรถมารอ โอกาสจะไปเจอกับคนท้องถิ่นก็จะลดลง แต่ถ้าไปเที่ยวเองส่วนใหญ่ไปถึงสนามบินก็จะหาวิธีการที่มันประหยัดที่สุด เพราะมันคือธรรมชาติของแบ็คแพค ขนาดเรามีโควิดเรายังบอกให้ทุกคนหลีกเลี่ยง อยู่ห่างกัน เช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่โรคที่ใันติดเชื้อจะติดต่อกันได้ไม่ แตกต่างกันมาก เช่น การสัมผัส การรับสารคัดหลั่ง การไอจามที่มีละอองฝอย
เพราะฉะนั้นก็ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กัน แต่ไม่ใช่ห้ามไม่ให้ไปเที่ยว หรือไม่ให้จับมือกับคนท้องถิ่น เรากำลังพูดถึงความเสี่ยง อะไรที่มันลดได้เราทำ อะไรที่มันทำไม่ได้ก็ไม่ทำ แต่สิ่งที่เราทำได้คือทำให้ความเสี่ยงมันต่ำที่สุด จับมือเสร็จก็ต้องล้างมือ
ขอบคุณรูปภาพจาก unsplash
มาตรฐานความสะอาดของประเทศปลายทางและการกินอาหาร
ไม่มีใครห้ามเราว่าไปถึงอินเดียห้ามกินอาหารท้องถิ่น แต่เราเองนั้นเตรียมตัวที่จะไปกินอาหารท้องถิ่นแล้วหรือยัง และมีวัคซีนตัวไหนที่ป้องกันโรคติดต่อทางการกินได้บ้าง เช่น ตับอักเสบเอ, ไทฟอยด์, อหิวาตกโรค, พยาธิ, Traveler's diarrhea หรืออย่างน้อยเราควรมีความรู้ข้อมูลเรื่องโรคติดต่อไว้ก่อนจะดีที่สุด
แต่ถ้าหากเราไปเที่ยวยุโรป หรือกลุ่มประเทศอเมริกา คุณภาพของความสะอาดก็จะค่อนข้างดี โอกาสที่จะท้องเสียก็จะเกิดขึ้นได้ยากกว่า
มาตรฐานของที่พักอาศัย
ยกตัวอย่างเช่น โรงแรม 5ดาว กับ1ดาว อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่า โรงแรม1ดาวนั้นจะไม่สะอาด แต่เป็นเรื่องของสิ่งอำนวยความสะดวก โรงแรม1ดาว มักจะเป็นที่นอนที่แทบจะไม่เคยเอาไปซักเลย ซึ่งทำให้มักจะ bed bug อยู่บนเตียง ถ้าหากเราไปนอนแล้วมีโอกาสที่จะโดนกัด เราจะรู้ตัวรึเปล่า ส่วนเรื่องของอาหาร ที่อาจจะอยู่ในโรงแรมก็ดี บุฟเฟ่ต่างๆ จะมีความสะอาดเพียงพอไหม มีหลายงานวิจัยที่บอกเช่นเดียวกันว่า บางครั้งอาหารในโรงแรม5ดาวแต่ละที่ อาจจะไม่สะอาดเพียงพอ เพราะพวกผักสดที่ไม่ได้ถูกทำให้สุกก่อนที่เราจะกินนั้นอาจจะมีไข่พยาธิปะปนอยู่ด้วย ซึ่งจริงๆแล้วการไปเที่ยวต่างประเทศ ไม่ควรกินอาหารดิบ สตรีทฟู้ดที่หน้าตาดูไม่สะอาด แต่ในกรณีที่ถูกทำให้สุกแล้วกินทันที อาหารนั้นก็อาจจะปลอดภัยกว่าผักสดในโรงแรม5ดาวก็เป็นได้
กิจกรรมพิเศษที่อยู่ในการเดินทาง
กิจกรรมบางอย่างไม่ใช่กิจกรรมหลัก เช่น เราจะไปเที่ยวมัลดีฟ ต้องการไปดูสัตว์ แต่บางคนก็จะไปดำน้ำด้วย ซึ่งการดำน้ำก็จะมีความเสี่ยงที่แตกต่างกับการอยู่บนบก เช่น ถ้าดำน้ำมา ห้ามขึ้นเครื่องบินภายใน 24-48ชม. เพื่อป้องกันการเกิดการน็อคอากาศ และการไปดำน้ำเราต้องรู้ว่าสถานที่ที่เราไปทำกิจกรรมนั้น มีห้องปรับบรรยากาศ (Hyperbaric Chamber) ในการรักษาโรค การน็อคอากาศ(Decompression sickness)หรือไม่ เช่นต่างชาติที่จะมาดำน้ำที่ภูเก็ตหลายคนก็จะทราบกันดีว่ามีเครื่อง Chamber นี้อยู่ หากเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นก็จะสามารถรักษาได้ทน แต่สำหรับคนไทยอย่างเราไปเที่ยวประเทศอื่น แล้วไม่มี เราจะสามารถรอดจากการเกิดอุบัติเหตุนี้ได้อย่างไร หรือต่อมาเช่น การเดินเขาที่เนปาล ก็จะมีในเรื่องของความกดอากาศ ของอ็อกซิเจนที่แตกต่างกันออกไป หรือการแพ้ความสูง ในประเทศไทย ดอยอินทนนท์สูงสุด ประมาณ2,500เมตร แต่เนินเขาที่เนปาลสูงถึง2,500เมตร ซึ่งแตกต่างกันมาก บางท่านไม่มีอาการการแพ้ความสูงที่เมืองไทย แต่หากไปเที่ยวเนปาล คนส่วนใหญ่มักจะมีอาการนี้ เราควรจะพบแพทย์ก่อนเพื่อตรวจร่างกาย เพราะในบางรายอาจเป็นโรคความดัน เบาหวาน ภูมิแพ้หรือโรคหอบหืด ซึ่งอาจจะอันตรายต่อร่างกายของเราได้
การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆในทุกสถานที่มีความเสี่ยงอยู่เสมอ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะพิจารณาความเสี่ยง วางแผนการเดินทางและทำกิจกรรม และสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆที่เราไม่รู้จัก เพื่อจุดประสงค์หลักที่สำคัญสำหรับทุกคนก็คือเราทุกคนเดินทางไปเที่ยวเพื่อไปเที่ยว ไม่ได้ไปเที่ยวเพื่อป่วย และแน่นอนว่าการเที่ยวในขณะที่รา่งกายไม่พร้อมนั้นไม่ดีแน่ เพราะฉะนั้นการเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนจะออกไปเที่ยวยังที่ต่างๆนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด