ในเมืองหลวงที่แสนวุ่นวาย หนุ่มสาวชาวออฟฟิศทั้งหลายที่ร่างกายขับเคลื่อนด้วยกาแฟ ไม่ว่าจะเป็นในตอนเช้าของวันหรือเป็นช่วงหลังพักเที่ยง พอร่างกายได้รับพลังงานอย่างเต็มเปี่ยมแล้วแน่นอนว่าก็ถึงเวลาแห่งการงีบหรือนอนกลางวัน แต่มันคงยากที่จะเกิดขึ้น ในเมื่องานของคุณกองล้นมือ และไหนจะหัวหน้างานที่คอยจับตาดูคุณอยู่ตลอด เรียกได้ว่าแทบจะพักเบรคจากการทำงานกันไม่ได้เลย ทำให้หลายๆคนนั้นมีชีวิตอยู่รอดไปได้ด้วยกาแฟหอมๆไม่ว่าจะร้อนหรือเย็นชื่นใจที่มาช่วยเพิ่มพลังและกระตุ้นให้คุณแอคทีฟ กระปรี้กระเปร่า และกลับมาทำงานได้อย่างสดชื่นและมีประสิทธิภาพ บางท่านชื่นชอบกาแฟมากเรียกได้ว่าขาดไม่ได้เลย เพราะร่างกายต้องการคาเฟอีน จนกลายเป็น Coffee loverไปแล้ว ถ้าหากวันไหนไม่ได้ดื่มกาแฟละก็ วันทั้งวันจะรู้สึกง่วงหงาวหาวนอน ชีวิตเหมือนขาดอะไรไป จะเดินไปไหนก็เหมือนกับซอมบี้ รวบทั้งการทำงานในวันนั้นก็จะเชื่องช้า เหนื่อยหน่ายไปด้วย ซึ่งมันไม่ส่งผลดีกับผลงานของคุณแน่ๆ
เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า ในกาแฟแต่ละชนิดนั้น ถึงจะเป็นสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน แต่ในกาแฟทุกชนิดมี สารคาเฟอีน ซึ่งสารนี้มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัว สดชื่น และนอกจากสารคาเฟอีนจะมีอยู่ในกาแฟแล้ว ยังพบเครื่องดื่มหลายชนิดที่มีกาเฟอีนเป็นส่วนผสมด้วย เช่น
1.ใบชาก็เป็นแหล่งของกาเฟอีนที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง พบว่าจะมีกาเฟอีนมากกว่ากาแฟในปริมาณเดียวกัน แต่วิธีชงดื่มของชานั้น ทำให้ปริมาณกาเฟอีนลดลงไปมาก แต่ชาจะมีปริมาณของธีโอฟิลลีนอยู่มาก และพบอนุพันธุ์อีกชนิดของกาเฟอีน คือธีโอโบรมีน (Theobromine) อยู่เล็กน้อยด้วย ชนิดของใบชาและกระบวนวิธีการเตรียม หรือชงชา ก็เป็นปัจจัยสำคัญของกาเฟอีนในน้ำชาเช่นเดียวกับในกาแฟ เช่นในชาดำและชาอูหลงจะมีกาเฟอีนมากกว่าในชาชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม สีของน้ำชาไม่ได้เป็นลักษณะบ่งชี้ถึงปริมาณกาเฟอีนในน้ำชา เช่นในชาเขียวญี่ปุ่นซึ่งจะมีปริมาณกาเฟอีนสูงกว่าชาดำบางชนิด.
2.ช็อคโกแลตซึ่งผลิตมาจากเมล็ดโกโก้ก็เป็นแหล่งของกาเฟอีนเช่นเดียวกัน แต่ในปริมาณที่น้อยกว่าเมล็ดกาแฟและใบชา แต่เนื่องจากในเมล็ดโกโก้มีสารธีโอฟิลลีนและธีโอโบรมีนอยู่มาก จึงมีฤทธิ์อ่อนๆในการกระตุ้นประสาท อย่างไรก็ตาม ปริมาณของสารดังกล่าวนี้ก็ยังน้อยเกินไปที่จะให้เกิดผลกระตุ้นประสาทเช่นเดียวกับกาแฟในปริมาณที่เท่ากัน.
3.น้ำอัดลมและเครื่องดื่มชูกำลังเป็นเครื่องดื่มที่พบกาเฟอีนได้มากเช่นเดียวกัน น้ำอัดลมทั่วไปจะมีกาเฟอีนประมาณ 10-50 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ขณะที่เครื่องดื่มชูกำลัง เช่นกระทิงแดง จะมีกาเฟอีนอยู่มากถึง 80 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค กาเฟอีนที่ผสมอยู่ในเครื่องดื่มเหล่านี้อาจมาจากพืชที่เป็นแหล่งผลิต แต่ส่วนใหญ่จะได้จากกาเฟอีนที่สกัดออกระหว่างการผลิต
และเนื่องจากคาเฟอีนเป็นสารในกลุ่มแซนทีนแอลคาลอยด์ที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับแอดิโนซีน(Adenosine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งในสมอง โมเลกุลของกาเฟอีนจึงสามารถจับกับตัวรับแอดิโนซีน (adenosine receptor) ในสมองและยับยั้งการทำงานของแอดิโนซีนได้ ผลโดยรวมคือทำให้มีการเพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาทโดปามีน (dopamine) ซึ่งทำให้สมองเกิดการตื่นตัว นอกจากนี้พบว่าอาจจะมีการเพิ่มปริมาณของซีโรโทนิน (serotonin) ซึ่งมีผลต่ออารมณ์ของผู้บริโภค ทำให้รู้สึกพึงพอใจและมีความสุขมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นประสาทที่ได้รับความนิยมมากในหมู่คนทำงาน หรือผู้ที่ต้องการความแอคทีฟให้ร่างกาย
นอกจากสารคาเฟอีนที่อยู่กาแฟและเครื่องดื่มหลายชนิดจะช่วยกระตุ้นให้ผู้ดื่มมีความสดชื่นและตื่นตัวแล้วสารคาเฟอีนยังมีประโยชน์อีกหลายอย่างต่อร่างกายของเราอย่างที่เราไม่เคยรู้มาก่อน เช่น
ขอบคุณรูปภาพจาก unsplash
มีหลายท่านที่ลดความอ้วนโดยการบริโภคกาแฟดำหรือที่เราเรียกกันว่า อเริกาโน่ โดยมีการศึกษาพบว่า คาเฟอีนจะเพิ่มอัตราการเผาผลาญในร่างกายให้มากขึ้น และมีงานค้นคว้าอื่น ๆ ที่ระบุว่า คาเฟอีนสามารถเพิ่มอัตราการเผาผลาญของคนอ้วน 10 เปอร์เซ็นต์ และเพิ่มอัตราการเผาผลาญของคนผอม 29 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่าประสิทธิภาพนี้จะลดลงในผู้ที่บริโภคคาเฟอีนในระยะยาว นอกจากนี้คาเฟอีนอาจเพิ่มประสิทธิภาพของระบบหายใจในผู้ที่เป็นโรคหอบหืดได้ แต่ก็เป็นเพียงในระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 4 ชั่วโมงเท่านั้น และแพทย์ยังอาจใช้คาเฟอีนกับเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่มีปัญหาด้านการหายใจได้ด้วย และสำหรับพนักงานออฟฟิศที่นั่งทำงานอยู่แต่บนโต๊ะและหน้าจอคอม หลาท่านเมื่อดื่มกาแฟแล้วจะรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น เนื่องจากคาแฟอีนนอกจากจะทำให้มีแรงทำงานแล้ว ยังสามารถลดอาการปวดภายในร่างกายได้อีกด้วย ซึ่งมีการศึกษาและวิจัยพบว่า การใช้คาเฟอีนร่วมกับยาแก้ปวดอาจช่วยลดอาการปวดได้ และอาจใช้คาเฟอีนลดอาการปวดหัวที่เกิดจากหลายสาเหตุด้วย เช่น การบริโภคคาเฟอีนร่วมกับยาแก้ปวดเพื่อรักษาอาการปวดหัวจากไมเกรนและปวดหัวจากความเครียด หรือแพทย์อาจให้ผู้ป่วยบริโภคหรือฉีดคาเฟอีนเข้าเส้นเลือด เพื่อป้องกันอาการปวดหัวหลังเข้ารับการผ่าตัด รวมทั้งป้องกันอาการปวดหัวหลังฉีดยาชาเข้าทางช่องเหนือไขสันหลัง และคาเฟอีนสามารถช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคซึมเศร้าและลดความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายได้ โดยมีงานวิจัยพบว่า การบริโภคคาเฟอีนนั้นอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าในผู้ใหญ่ได้ อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยบางส่วนที่เผยว่า การบริโภคคาเฟอีนอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าในเด็กได้เช่นกัน
การบริโภคสารคาเฟอีนนั้นควรบริโภคในปริมาณที่พดีกับร่างกาย ซึ่งคนทั่วไปไม่ควรบริโภคคาเฟอีนเกินวันละ 400 มิลลิกรัม ซึ่งเท่ากับการดื่มกาแฟประมาณ 4 แก้ว เครื่องดื่มชูกำลัง 2 ขวด หรือโคล่าไม่เกิน 10 กระป๋อง แต่ต้องระวังปริมาณน้ำตาลที่มากเกินไปด้วย และอีกประเด็นที่หลายคนเข้าใจผิดนั่นก็คือ การดื่มกาแฟในปริมาณมากไม่ได้ช่วยให้ผู้ดื่มลดอาการง่วงนอนได้อย่างที่เข้าใจกัน เพียงแต่ว่าประสิทธิภาพของมันจะช่วยทำให้ผู้ดื่มรู้สึกกระปรี้กระเปร่า แต่ภายในร่างกายก็ยังคงอ่อนเพลียจากการทำงานและต้องการการพักผ่อนอยู่ ถ้าหากได้รับคาเฟอีนมากเกินไป อาจต้องใช้เวลานานขึ้นกว่าจะนอนหลับ ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลเสียต่อการนอน ทำให้ระยะเวลาและคุณภาพการนอนของคุณลดลงได้อีกด้วย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
ดังนั้น เราควรบริโภคคาเฟอีนอย่างเหมาะสมตามความต้องการของร่างกาย อย่างไรก็ตามการบริโภคคาเฟอีนในปริมาณที่พอเหมาะอาจเกิดประโยชน์ต่อร่างกาย แต่การบริโภคมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นในร่างกายได้ ถึงแม้คุณจะเป็นคนรักกาแฟมากแค่ไหน แต่ถ้าหากดื่มมากเกินไปในแต่ละวันนั้นไม่ดีแน่ เพราะนอกจากคุณจะเสียค่ากาแฟหลายบาทในแต่ละเดือนแล้ว ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณอีกด้วย
บทความโดย PG999SLOT